เมนู

10. โสมนัสสสูตร


ว่าด้วยธรรม 2 อย่าง ในถึงความสิ้นทุกข์


[215] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสเเล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 2 ประการ เป็นผู้
มากไปด้วยสุขแลโสมนัสอยู่ในปัจจุบัน เป็นผู้ปรารภความเพียรแล้วโดยแยบคาย
เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ธรรม 2 ประการเป็นไฉน คือ ความ
สังเวชในฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช 1 ความเพียรโดยแยบคายแห่ง
บุคคลผู้สังเวช 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 2 ประการ
นี้แล เป็นผู้มากไปด้วยสุขและโสมนัสอยู่ในปัจจุบัน เป็นผู้ปรารภความเพียร
แล้วโดยแยบคาย เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต มีความเพียร มี
ปัญญาเครื่องรักษาตน พิจารณาโดยชอบ
แล้วด้วยปัญญา พึงสังเวชในฐานะเป็นที่
ตั้งแห่งความสังเวชทีเดียว ภิกษุผู้มีปกติ
อยู่อย่างนี้ มีความเพียร มีความประพฤติ
สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน หมั่นประกอบอุบายเป็น
เครื่องสงบใจ พึงถึงควานสิ้นไปแห่งทุกข์ได้.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบโสมนัสสสูตรที่ 10
จบวรรคที่ 1

อรรถกถาโสมนัสสสูตร


ในโสมนัสสสูตรที่ 10 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ในบทว่า สุขโสมนสฺสพหุโล นี้มีอธิบายดังนี้ บทว่า สุขํ
ได้แก่ สุขทางกาย. บทว่า โสมนสฺสํ ได้แก่ สุขทางใจ เพราะฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ผู้ที่มีสุขทางกาย และสุขทางใจ เป็นไปเนือง ๆ ว่า เป็นผู้มาก
ไปด้วยความสุขและโสมนัส.
บทว่า โยนิ ได้แก่ กำเนิด มาแล้วในบทมีอาทิว่า จตสฺโส
โข อิมา สารีปุตต โยนิโย
ดูก่อนสารีบุตร กำเนิด 4 เหล่านี้แล.
ได้แก่ เหตุในบทมีอาทิว่า โยนิ เหสา ภูมิ จ ผลสฺส อธิคมาย ก็
และภูมินี้เป็นเหตุเพื่อบรรลุผล ดังนี้. และได้แก่ ช่องคลอด ในบทมีอาทิว่า
น จาหํ พฺราหฺมณํ พฺรูมิ โยนิชํ มตฺติสมฺภวํ เตเมนํ กมฺมชวาตา
นิพฺพตฺติตฺวา อุทฺธํปาทํ อโธสิรํ สมฺปริวตฺติตฺวา มาตุ โยนิมุเข
สมฺปฏิปาเทนฺติ
เราไม่กล่าวผู้ที่เกิดจากช่องคลอด มีมารดาเป็นแดนเกิด ว่า
เป็นพราหมณ์ ลมกรรมชวาต (ลมเบ่ง) เกิดขึ้นกลับเด็กนั้นให้มีเท้าขึ้น ให้มี